วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย



    พืชที่ขึ้นบนพื้นดินจะได้รับธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่จากดินนอกเสียจากธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่พืชได้รับมาจากน้ำและอากาศ ตลอดเวลาพืชจะดูดธาตุอาหารไปจากดินหรือวัสดุปลูก(media) เพื่อนำไปสร้างส่วนต่างๆ ของลำต้นและให้ผลผลิตออกมา ปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้จึงมีมากมายมหาศาล ในขณะที่การสร้างเพิ่มเติมหรือการทดแทนตามธรรมชาติเกิดขึ้นไม่มาก และขณะเดียวกันก็มีการชะล้างธาตุอาหารพืชออกไปจากดินได้มาก ทำให้ธาตุอาหารพืชในดินลดน้อยลงไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องให้ธาตุอาหารพืชเพิ่มเติมให้กับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตตามปกติ สารที่ให้ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปให้กับพืชเรียกว่าปุ๋ย (fertilizer) ดังนั้นปุ๋ย หมายถึงสารที่ใส่ลงไปในดินหรือวัสดุปลูกพืชอื่นๆ เพื่อต้องการที่จะให้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม และหรือธาตุอาหารอื่นเพิ่มเติมแก่พืชสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ในระดับปกติ

10.2 คำจำกัดความเกี่ยวกับปุ๋ย                                                       
    ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าปุ๋ยไว้ว่า "ปุ๋ยหมายถึงสารอินทรีย์ หรืออนิน ทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นอาหารธาตุแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงการเจริญเติบโตแก่พืช"
    เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยจะมีรายละเอียดต่างๆ ที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อประโยชน์เพื่อการศึกษาหรือในการใช้เช่น
    1) ธาตุอาหารปุ๋ย (fertilizer element) หมายถึง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่นธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแทสเซียม (K)
    2) วัสดุปุ๋ย (fertilizer material) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชอยู่ตั้งแต่หนึ่งธาตุขึ้นไป และสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ เช่น ยูเรีย เป็นวัสดุปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน
    3) ปุ๋ยผสม (mixed fertilizer) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีวัสดุปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกันและมีธาตุอาหารปุ๋ยตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปเป็นองค์ประกอบหลักของวัสดุนั้น
    4) เกรดปุ๋ย (fertilizer grade) หมายถึง การรับประกันปริมาณต่ำสุดของธาตุอาหารปุ๋ยที่มีอยู่ในปุ๋ยชนิดนั้น
โดยจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไนโตรเจนทั้งหมด (total N) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) และโปแทสเซียมที่ละลายน้ำ (water soluble K2O)
    5) สัดส่วนปุ๋ย (fertilizer ratio) หมายถึง สัดส่วนของ N: P2O5: K2O ที่เป็นเกรดของปุ๋ยแต่ละชนิด เช่น ปุ๋ยเกรด 6-24-6 จะมีสัดส่วนปุ๋ยเป็น 1:4:1 เป็นต้น
    6) ปุ๋ยสมบูรณ์และปุ๋ยไม่สมบูรณ์ (complete and incomplete fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยครบทั้ง 3 ธาตุ และปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยไม่ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น อาจมีเพียง 1 หรือ 2 ธาตุ ตามลำดับ
    7) ตัวเติมในปุ๋ย (filler) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ที่ใช้ผสมลงไปในปุ๋ยผสมเพื่อให้ปุ๋ยผสมมีน้ำหนักครบตามต้องการ สารที่เติมลงไปต้องไม่ทำปฏิกริยากับวัสดุปุ๋ยหรือธาตุอาหารปุ๋ยที่ใช้ เช่น ทรายละเอียด ขี้เลื่อย หรือสารสังเคราะห์อื่นๆ                                    
 10.3 ประเภทของปุ๋ย                                                                          back
    ปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะยืดถืออะไรเป็นหลักในการแยกตัวอย่างการจำแนกประเภทของปุ๋ย เช่น
    แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีวัสดุปุ๋ยเป็นสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
    2) ปุ๋ยอนินทรีย์ (inorganic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีวัสดุปุ๋ยเป็นสารอนินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยธรรมชาติ (natural fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยกระดูกป่น ปุ๋ยหินฟอสเฟต เป็นต้น
    2) ปุ๋ยสังเคราะห์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (synthetic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์หรือผ่านกระบวนการทางเคมี เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    ตามวิธีนี้สามารถแบ่งปุ๋ยออกได้ 3 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยไนโตรเจน (nitrogen fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เลือดแห้ง เป็นต้น
    2) ปุ๋ยฟอสฟอรัส (phosphorus fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยหินฟอสเฟต กระดูกป่น เป็นต้น
    3) ปุ๋ยโปแทสเซียม (potassium fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารโปแทสเซียมเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยโปแทส
เซียมซัลเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    ตามวิธีนี้สามารถแบ่งปุ๋ยออกได้ 4 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยเกรดต่ำ (low grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร แต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์
    2) ปุ๋ยเกรดปานกลาง (medium grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วอยู่ในช่วง 15-25 เปอร์เซ็นต์
    3) ปุ๋ยเกรดสูง (high grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์เป็นธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์
    4) ปุ๋ยเข้มข้น (concentrated fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์เป็นธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วเกิน 30 เปอร์เซ็นต์
    ตัวอย่างปุ๋ยชนิดต่างๆ ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปแสดงไว้ในตารางที่ 10.1 ส่วนใหญ่แล้วปุ๋ยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์เกรดต่างๆ เช่น 16:20:0, 15:15:15 เป็นต้น
     ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างปุ๋ยไนโตรเจน ฟอรฟอรัส และโปแทสเซียมทั้งที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์และปริมาณธาตุอาหาร N ของปุ๋ยนั้นๆ

วัสดุ/ชนิดปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ปุ๋ยไนโตรเจน
   
กากเมล็ดถั่วเหลือง
7.0
-
-
ขี้ค้างคาว
6.0
-
-
แอมโมเนียมซัลเฟต
20.0
-
-
ยูเรีย
46.0
-
-
ปุ๋ยฟอสฟอรัส
   
กระดูกสัตว์ป่น
 
24.0
-
หินฟอสเฟต
-
30.0
-
ซูเปอร์ฟอสเฟต
-
20.0
-
ดับเบิลซูเปอร์ฟอสเฟต
-
32.0
-
ปุ๋ยโปแทสเซียม
   
โปแทสเซียมคลอไรด์
-
-
48-60
โปแทสเซียมซัลเฟต
-
-
48-50
โปแทสเซียมไนเตรด
-
-
64
โปแทสเซียมมีตาฟอสเฟต
-
-
35-38
    ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติเป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่มากมาย ปุ๋ยพวกนี้จะมีธาตุอาหารอยู่ในปริมาณต่ำ แต่จะมีธาตุอาหารต่างๆ มากชนิดครบตามความต้องการของพืช นอกจากการให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้วปุ๋ยพวกนี้ยังมีคุณสมบัติในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินได้ดีอีกด้วย ตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น สำหรับรายละเอียดและปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ 10.2 10.3 และ 10.4
10.4 ปุ๋ยผสม                                                                                       back
    ปุ๋ยผสม (mixed fertilizer) เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากวัสดุปุ๋ยหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าแม่ปุ๋ยมาผสมกันเพื่อเพิ่มชนิด และปริมาณธาตุอาหารให้แก่พืช หรือให้ได้ปุ๋ยที่มีเกรดต่างๆ เหมาะสมกับการใช้ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้งพืชที่ปลูกอยู่ในสภาพดินฟ้าอากาศและการปฏิบัติดูแลรักษาต่างๆ กัน ทำให้พืชต้องการปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหาร
    ตารางที่ 10.2 ปุ๋ยคอกและปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

มูลสัตว์ต่าง ๆ
%N
%P2O5
%K2O
ไก่
1.8-2.9
2.4-4.8
0.8-1.4
วัว
0.3-0.8
0.3-0.5
0.2-0.5
ควาย
0.8-1.2
0.5-1.0
0.5-1.0
หมู
0.6-1.0
0.5-0.8
0.2-0.8
ค้างคาว
1.0-6.0
5.0-10.0
0.5-1.2
เป็ด
0.5-1.2
1.0-2.0
0.2-0.8
ม้า
0.5-1.0
0.3-0.7
0.2-0.7

    ตารางที่ 10.3 วัสดุปุ๋ยหมักและเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

วัสดุปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ฟางข้าว
1.0
0.6
0.9
ฟางข้าวผสมขี้วัว
1.8
0.5
0.5
ผักตบชวา
1.4
0.5
0.5
ผักตบชวาผสมขี้หมู
1.8
0.8
0.8
ตอซังข้าวผสมขี้วัว
2.0
2.0
1.0
หญ้าขนผสมขี้ไก่
2.0
2.5
1.5
    ตารางที่ 10.4 วัสดุปุ๋ยพืชสดและปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

วัสดุปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ต้นถั่วเขียวแก่
2.0-3.0
0.1-0.3
1.5-3.0
ต้นถั่วเขียวออกดอก
2.0-4.0
0.1-0.5
2.0-4.0
ต้นถั่วเหลืองแก่
2.0-4.0
0.1-0.5
1.0-3.0
ต้นถั่วเหลืองออกดอก
2.5-4.0
0.1-0.5
1.0-3.0
ต้นข้าวโพดแก่
0.2-0.5
0.1-0.2
1.0-3.0
ต้นข้าวโพดออกดอก
0.2-1.5
0.1-0.5
1.0-4.0
ฟางข้าว
0.4-1.5
0.1-0.5
1.0-2.5
ต้นข้าวออกดอก
0.4-1.5
0.1-0.5
1.5-3.0

หลักต่างๆ และไม่มีปุ๋ยที่มีสูตรอาหารต่างๆ จำหน่ายในท้องตลาด จำเป็นจะต้องผสมปุ๋ยขึ้นมาใช้โดยการนำแม่ปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม และหรือวัสดุปุ๋ยอื่นมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ การผสมปุ๋ยขึ้นมาใช้จำเป็นจะต้องทราบข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้
    1) ต้องการจะได้สูตรปุ๋ยใดที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชจำนวนเท่าไร
    2) แม่ปุ๋ยที่จะใช้อยู่ในรูปใดเข้ากันได้ดีเพียงใด (รูปที่ 10.1)
    3) แม่ปุ๋ยแต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารอยู่เท่าใด
    4) เมื่อคิดคำนวณออกมาได้แล้วจะต้องผสมตัวเติมอะไรลงไปเท่าใด
 
รูปที่ 10.1 ความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยบางชนิดเมื่อนำมาผสมกัน
    ตัวอย่างการคิดคำนวณปุ๋ยผสม เช่น ต้องการปุ๋ยผสมเกรด 10-10-10 จำนวน 1 ตัน จะต้องใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21%N) ปุ๋ยทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (46%P2O5) และปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (60%K2O) อย่างละเท่าไร และต้องเติมตัวเติมลงไปอีกเท่าไร สามารถคำนวณได้ดังนี้
    1) ต้องการเกรดปุ๋ย 10-10-10 ปริมาณ 1,000 กก.
    2) จะต้องมีธาตุอาหาร N P2Oและ K2O อย่างละ 100 กก. ในปริมาณปุ๋ยผสม 1,000 กก.
    3) แม่ปุ๋ยที่ใช้ทั้ง 3 ชนิดเป็นปุ๋ยเดียวทั้งหมดคือ
            แอมโมเนียมซัลเฟต             (NH4)2SO4    21%N
            ทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต     TSP                 46%P2O5
            โปแทสเซียมคลอไรด์            KCl                 60%K2O
    4) วิธีการคิดแบบเทียบบัญญัติไตรยางค์
            ต้องการธาตุอาหาร N 21 กก. ต้องใช้ (NH4)2SO4                         100 กก.
                 N 100 กก.ต้องใช้ (NH4)2SO4                                                                           
                ดังนั้นต้องใช้ (NH4)2SO4                       =                     476 กก.                                             (1)
            ต้องการธาตุอาหาร P2O5 46 กก. ต้องใช้ TSP                               100 กก.
                P2O5 100 กก.ต้องใช้ TSP                                                                           
                ดังนั้นต้องใช้ TSP                                     =                217 กก.                                             (2)
            ต้องการธาตุอาหาร K2O 60 กก. ต้องใช้ KCl                                 100 กก.
                K2O 100 กก.ต้องใช้ KCl                                                                 
               ดังนั้นต้องใช้ KCl                                         =              167 กก.                                              (3)
    5) ดังนั้นรวมน้ำหนักแม่ปุ๋ยทั้ง 3 ที่จะต้องใช้ เท่ากับ 860 กก. [ (1)+(2)+(3) ] และ จะต้องเติมตัวเติม เท่ากับ 140 กก. เพื่อให้น้ำหนักครบ 1,000 กก.
    การผสมปุ๋ยต้องดำเนินการในที่แห้ง เรียบและแข็ง เช่น ลานซิเมนต์ มีเครื่องมือผสมเช่น พลั่ว และปุ๋ยที่ผสมได้จะต้องไม่จับตัวเป็นก้อน แต่จะต้องร่วนและแห้ง ปุ๋ยผสมที่ได้ควรพอดีกับความต้องการใช้แต่ละครั้ง
10.5 หลักในการใช้ปุ๋ยกับพืช                                                          back
    การใช้ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตพืชจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่พืชจะได้รับและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยมีหลักในการใส่ปุ๋ยดังต่อไปนี้
    1) พิจารณาถึงลักษณะดิน โดยเฉพาะเนื้อดิน โครงสร้างของดิน และความร่วนซุยของดิน เช่น ถ้าเป็นดินทรายควรแบ่งใส่ปุ๋ยทีละน้อย หลายๆ ครั้ง
    2) ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะต้องอยู่ในบริเวณที่รากพืชดูดไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะสังเกตจากบริเวณที่ปลายรากพืชกระจายอยู่หนาแน่น และมีน้ำทำละลายปุ๋ยเพียงพอ
    3) กำหนดวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับลักษณะของการปลูกพืช เช่นพืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนวมักใส่ขนานกับแถวของพืช หรือพืชยืนต้นทรงพุ่มต้นใหญ่จะต้องใส่รอบทรงพุ่มต้น
    4) ให้ปุ๋ยตรงตามความต้องการของพืชทั้งช่วงเวลาและปริมาณที่พืชต้องการ
    5) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืชหรือเพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดินก็ตาม ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยสมบูรณ์แล้วเพราะจะได้ฮิวมัสมาก
10.6 วิธีการใส่ปุ๋ย                                                                                  back
    การใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดนั้นจะเกี่ยวข้องอย่างมากกับชนิดพืช การปลูก ลักษณะหรือคุณสมบัติของปุ๋ย ตลอดจนแรงงานและเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
    1) การหว่าน (broad cast application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกไม่เป็นแถวเป็นแนว หรือพืชที่มีระบบรากแพร่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ปลูก เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าสนาม เป็นต้น การหว่านปุ๋ยควรหว่านให้กระจายไปทั่วอย่างสม่ำเสมอโดยแบ่งการหว่านออก 2 ครั้ง ครั้งแรกตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และครั้งที่ 2 ตามแนวทิศตะวันออก-ตก
    2) การโรยเป็นแถวขนานกับแถวของพืช (row or band application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยให้พืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว โดยการโรยปุ๋ยเป็นแถบในบริเวณที่รากพืชกระจายออกไปอยู่หนาแน่นที่สุด
    3) การใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุดเป็นจุด (hole application) เป็นวิธีการใส่ที่ลดการกระจายของปุ๋ยในพื้นที่ดินลง เช่น การใส่ปุ๋ยให้ยางพาราอายุ 3-4 ปีหลังจากปลูก
    4) การใส่ปุ๋ยลงไปตามร่องที่ไถ (plow-sow placement) ทำได้โดยการใช้ไถเปิดร่องนำไปก่อนแล้วโรยปุ๋ยตามลงไปในร่อง การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะลดการสูญหายของปุ๋ยจากการทำลายต่างๆ ลงได้มาก
    5) การฉีดพ่นปุ๋ยเหลวให้ทางใบ (foliar spray application) โดยการฉีดปุ๋ยเหลวให้กับพืช มักใช้กับพืชที่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหรือต้องการเร่งการเจริญเติบโตแก่พืช
    6) การโรยปุ๋ยรอบทรงพุ่มต้นตามแนวพุ่มใบ (ring application) วิธีนี้มักใช้กับไม้ผลยืนต้นที่มีทรงพุ่มกว้างโดยจะให้ปุ๋ยตามแนวพุ่มใบซึ่งถือเป็นบริเวณที่มีรากอ่อนอยู่มาก
    7) การหยอดปุ๋ยที่ซอกใบรอบโคนต้น เช่น การให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนกับสับปะรดที่ตำแหน่งซอกใบซึ่งมีลักษณะเป็นกระเปาะ เนื้อเยื่อผิวใบค่อนข้างบางสามารถดูดซึมปุ๋ยเข้าไปได้ง่าย
    โดยทั่วไปการใส่ปุ๋ยจะคำนึงถึงระยะการเจริญเติบโตทาง0ลำต้น (vegetative growth) และระยะการออกดอกผล (reproductive growth) ในการใส่ปุ๋ยให้กับพืชจึงต้องคำนึงระยะการเจริญเติบโตของพืชว่าอยู่ในระยะใด แล้วจึงจะใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับระบบการเจริญเติบโตนั้นๆ โดยมีรายละเอียดของระยะเวลาที่ควรใส่ปุ๋ยดังต่อไปนี้
    1) ใส่ก่อนปลูกโดยการใส่ปุ๋ยรองพื้น เช่นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วพื้นที่แล้วไถคลุกเคล้ากับดินหรือใส่พร้อมหยอดเมล็ด เช่นการโรยก้นร่อง หากเป็นไม้ยืนต้นเช่นยางพารา ไม้ผลก็คือการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม
    2) ใส่ระยะที่พืชเจริญเติบโตรวดเร็ว เป็นระยะที่เร่งการสร้าง ใบ ต้น กิ่ง แขนง
    3) ใส่ก่อนระยะออกดอก เพื่อให้พืชนำธาตุอาหารไปใช้ในการสร้างดอก ผล และเมล็ดได้อย่างสมบูรณ์
    4) ใส่เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารใดๆ เมื่อปรากฏชัดเจนว่าพืชขาดธาตุอาหารก็รีบใส่ปุ๋ยที่ขาดนั้นลงไป ในดินหรือฉีดพ่นให้ทางใบ
    ในปัจจุบันได้มีการผลิตและการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์กันในปริมาณมากและกว้างขวางทั่วไปมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจากให้ผลในการเจริญเติบโตของพืชได้เร็ว มีจำหน่ายทั่วไปขนส่งและนำไปใช้ได้สะดวก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางประเภทติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือใช้อย่างขาดความรู้ รอบคอบจะทำให้คุณสมบัติบางประการของดินเสื่อมลงได้ เช่น ความพรุนของดิน ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน หรือทำให้ปฏิกริยาของดินเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ดังนั้นมีความจำเป็นที่ควรจะพิจารณาและได้นำเอาปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่มีอยู่แล้วทั่วไปในบริเวณที่ปลูกพืชมาใช้เพื่อการบำรุงดิน และควบคุมคุณสมบัติหลายประการของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชดังกล่าวแล้ว ดังนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภทคือปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ร่วมกันเพื่อปุ๋ยเคมีจะไปเร่งการเจริญเติบโตของพืชขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติจะไปลดความเสื่อมสภาพของดินบางประการอันเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น