วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์

 การขยายพันธุ์ไม้ประดับไม่ได้แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ  แต่ต้องพิจารณาถึงชนิดและประเภทของพันธุ์ไม้ วิธีการขยายพันธุ์ไม้ประดับที่ได้ผลดีและนิยมกันมาก ได้แก่ การเพาะเมล็ด การแยกหน่อ การตัดชำ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
gt14
การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ที่ง่ายและประหยัดที่สุด แต่ก่อนที่จะเพาะเมล็ดนั้นจะต้องรู้ว่าเมล็ดที่จะเพาะมีการพักตัวหรือไม่ เปลือกเมล็ดหนาหรือบาง เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอายุการงอกแตกต่างกัน วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดต้องมีความร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดี โดยส่วนมากใช้วัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของทราย+ขี้เถ้าแกลบ+ดินร่วน อัตราส่วน 1:1:1 ใส่ในกระบะเพาะ เมื่อเมล็ดงอกจนมีใบจริงแล้วจึงย้ายปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกต่อไป พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม เป็นต้น
gt15
การแยกหน่อ เป็นการขยายพันธุ์สำหรับพืชที่มีหน่อหรือมีลำต้นใต้ดิน โดยแยกหน่อที่เกิดรอบๆ ต้นแม่ และต้องระวังในการขุดหรือตัดแยกอย่าให้หน่อหักหรือช้ำ และต้องมีรากติดมาด้วยเสมอ พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม และตระกูลกล้วย เป็นต้น
gt16
การตัดชำ เป็นการขยายพันธุ์โดยนำเอาส่วนของพืชที่มีความสามารถในการเกิดรากและเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ การขยายพันธุ์โดยการตัดชำนี้มีอยู่ 3 วิธี คือ การตัดชำกิ่งหรือลำต้น โดยกิ่งที่จะชำนั้นต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำใบ โดยใช้ส่วนต่างๆ ของใบ เช่น แผ่นใบ ส่วนของใบ ใบที่มีตาติด และก้านใบ นิยมใช้กับพืชที่มีใบใหญ่ หนา หรืออวบน้ำ และวิธีต้ดชำอีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำรากสามารถทำได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น สน โดยรากที่จะนำมาตัดชำต้องเป็นรากที่สมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงรบกวน

gt21
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เป็นวิธีการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์ ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้แล้วยังสามารถขยายพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ จากการผสมพันธุ์หรือจากการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นเช่นเดียวกัน การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ
gt17
ระยะที่ 0) การเตรียมต้นแม่พันธุ์ คัดเลือกต้นพันธุ์ดีที่ปลูกในวัสดุปลูกที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ มีการป้องกันโรคและแมลง ดูแลให้ปุ๋ยบำรุงพืชให้เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์ และลดการปนเปื้อนในการนำส่วนต่างๆ มาเป็นชิ้นส่วนตั้งต้น
gt22
ระยะที่ 1) การชักนำให้เกิดต้น 
นำชิ้นส่วนตั้งต้นจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ยอด ตาข้าง ใบอ่อน หรือดอกอ่อน มาฟอกฆ่าเชื้อ และเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์
gt18
ระยะที่ 2) การเพิ่มปริมาณต้นนำต้นอ่อนที่ได้มาทำการเพิ่มปริมาณต้นทุกๆ 6-8 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดของพันธุ์พืชที่เพาะเลี้ยง

gt19
 ระยะที่ 3) การยืดยาวของลำต้นและการกระตุ้นหรือพัฒนาการออกรากตัดแยกพืชที่เพาะเลี้ยงให้เป็นต้นเดี่ยว เพาะเลี้ยงในอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดราก ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช

gt20 








 ระยะที่ 4) การปรับสภาพและการย้ายปลูกต้นที่ได้จากการกระตุ้นการเกิดรากนำต้นกล้าเล็กมาล้างรากให้สะอาด คัดขนาดของต้นให้มีความสม่ำเสมอแล้วย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอกในกระบะที่มีวัสดุปลูกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วที่มีส่วนผสมของ ดินร่วน:ทรายหยาบ:ใบไม้ผุ:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:1 ทำการปรับสภาพต้นโดยลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งอาจใช้ระบบพ่นหมอก พ่นฝอย หรือเต็นท์ทำความเย็น และลดความเข้มแสงลงให้เหลือประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงค่อยๆ ลดความชื้นสัมพัทธ์ลงพร้อมๆ กับเพิ่มความเข้มแสงซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

ที่มา http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree/42-propagation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น