วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย



    พืชที่ขึ้นบนพื้นดินจะได้รับธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่จากดินนอกเสียจากธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่พืชได้รับมาจากน้ำและอากาศ ตลอดเวลาพืชจะดูดธาตุอาหารไปจากดินหรือวัสดุปลูก(media) เพื่อนำไปสร้างส่วนต่างๆ ของลำต้นและให้ผลผลิตออกมา ปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้จึงมีมากมายมหาศาล ในขณะที่การสร้างเพิ่มเติมหรือการทดแทนตามธรรมชาติเกิดขึ้นไม่มาก และขณะเดียวกันก็มีการชะล้างธาตุอาหารพืชออกไปจากดินได้มาก ทำให้ธาตุอาหารพืชในดินลดน้อยลงไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องให้ธาตุอาหารพืชเพิ่มเติมให้กับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตตามปกติ สารที่ให้ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปให้กับพืชเรียกว่าปุ๋ย (fertilizer) ดังนั้นปุ๋ย หมายถึงสารที่ใส่ลงไปในดินหรือวัสดุปลูกพืชอื่นๆ เพื่อต้องการที่จะให้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม และหรือธาตุอาหารอื่นเพิ่มเติมแก่พืชสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ในระดับปกติ

10.2 คำจำกัดความเกี่ยวกับปุ๋ย                                                       
    ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าปุ๋ยไว้ว่า "ปุ๋ยหมายถึงสารอินทรีย์ หรืออนิน ทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นอาหารธาตุแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงการเจริญเติบโตแก่พืช"
    เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยจะมีรายละเอียดต่างๆ ที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อประโยชน์เพื่อการศึกษาหรือในการใช้เช่น
    1) ธาตุอาหารปุ๋ย (fertilizer element) หมายถึง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่นธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแทสเซียม (K)
    2) วัสดุปุ๋ย (fertilizer material) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชอยู่ตั้งแต่หนึ่งธาตุขึ้นไป และสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ เช่น ยูเรีย เป็นวัสดุปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน
    3) ปุ๋ยผสม (mixed fertilizer) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีวัสดุปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกันและมีธาตุอาหารปุ๋ยตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปเป็นองค์ประกอบหลักของวัสดุนั้น
    4) เกรดปุ๋ย (fertilizer grade) หมายถึง การรับประกันปริมาณต่ำสุดของธาตุอาหารปุ๋ยที่มีอยู่ในปุ๋ยชนิดนั้น
โดยจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไนโตรเจนทั้งหมด (total N) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) และโปแทสเซียมที่ละลายน้ำ (water soluble K2O)
    5) สัดส่วนปุ๋ย (fertilizer ratio) หมายถึง สัดส่วนของ N: P2O5: K2O ที่เป็นเกรดของปุ๋ยแต่ละชนิด เช่น ปุ๋ยเกรด 6-24-6 จะมีสัดส่วนปุ๋ยเป็น 1:4:1 เป็นต้น
    6) ปุ๋ยสมบูรณ์และปุ๋ยไม่สมบูรณ์ (complete and incomplete fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยครบทั้ง 3 ธาตุ และปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยไม่ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น อาจมีเพียง 1 หรือ 2 ธาตุ ตามลำดับ
    7) ตัวเติมในปุ๋ย (filler) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ที่ใช้ผสมลงไปในปุ๋ยผสมเพื่อให้ปุ๋ยผสมมีน้ำหนักครบตามต้องการ สารที่เติมลงไปต้องไม่ทำปฏิกริยากับวัสดุปุ๋ยหรือธาตุอาหารปุ๋ยที่ใช้ เช่น ทรายละเอียด ขี้เลื่อย หรือสารสังเคราะห์อื่นๆ                                    
 10.3 ประเภทของปุ๋ย                                                                          back
    ปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะยืดถืออะไรเป็นหลักในการแยกตัวอย่างการจำแนกประเภทของปุ๋ย เช่น
    แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีวัสดุปุ๋ยเป็นสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
    2) ปุ๋ยอนินทรีย์ (inorganic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีวัสดุปุ๋ยเป็นสารอนินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยธรรมชาติ (natural fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยกระดูกป่น ปุ๋ยหินฟอสเฟต เป็นต้น
    2) ปุ๋ยสังเคราะห์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (synthetic fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์หรือผ่านกระบวนการทางเคมี เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    ตามวิธีนี้สามารถแบ่งปุ๋ยออกได้ 3 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยไนโตรเจน (nitrogen fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เลือดแห้ง เป็นต้น
    2) ปุ๋ยฟอสฟอรัส (phosphorus fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยหินฟอสเฟต กระดูกป่น เป็นต้น
    3) ปุ๋ยโปแทสเซียม (potassium fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารโปแทสเซียมเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยโปแทส
เซียมซัลเฟต ปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น
    ตามวิธีนี้สามารถแบ่งปุ๋ยออกได้ 4 ประเภทคือ
    1) ปุ๋ยเกรดต่ำ (low grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร แต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์
    2) ปุ๋ยเกรดปานกลาง (medium grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วอยู่ในช่วง 15-25 เปอร์เซ็นต์
    3) ปุ๋ยเกรดสูง (high grade fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์เป็นธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์
    4) ปุ๋ยเข้มข้น (concentrated fertilizer) ได้แก่ปุ๋ยที่มีเปอร์เซ็นต์เป็นธาตุอาหารแต่ละธาตุหรือรวมกันทั้งหมดแล้วเกิน 30 เปอร์เซ็นต์
    ตัวอย่างปุ๋ยชนิดต่างๆ ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปแสดงไว้ในตารางที่ 10.1 ส่วนใหญ่แล้วปุ๋ยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์เกรดต่างๆ เช่น 16:20:0, 15:15:15 เป็นต้น
     ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างปุ๋ยไนโตรเจน ฟอรฟอรัส และโปแทสเซียมทั้งที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์และปริมาณธาตุอาหาร N ของปุ๋ยนั้นๆ

วัสดุ/ชนิดปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ปุ๋ยไนโตรเจน
   
กากเมล็ดถั่วเหลือง
7.0
-
-
ขี้ค้างคาว
6.0
-
-
แอมโมเนียมซัลเฟต
20.0
-
-
ยูเรีย
46.0
-
-
ปุ๋ยฟอสฟอรัส
   
กระดูกสัตว์ป่น
 
24.0
-
หินฟอสเฟต
-
30.0
-
ซูเปอร์ฟอสเฟต
-
20.0
-
ดับเบิลซูเปอร์ฟอสเฟต
-
32.0
-
ปุ๋ยโปแทสเซียม
   
โปแทสเซียมคลอไรด์
-
-
48-60
โปแทสเซียมซัลเฟต
-
-
48-50
โปแทสเซียมไนเตรด
-
-
64
โปแทสเซียมมีตาฟอสเฟต
-
-
35-38
    ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติเป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่มากมาย ปุ๋ยพวกนี้จะมีธาตุอาหารอยู่ในปริมาณต่ำ แต่จะมีธาตุอาหารต่างๆ มากชนิดครบตามความต้องการของพืช นอกจากการให้ธาตุอาหารแก่พืชแล้วปุ๋ยพวกนี้ยังมีคุณสมบัติในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินได้ดีอีกด้วย ตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น สำหรับรายละเอียดและปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ 10.2 10.3 และ 10.4
10.4 ปุ๋ยผสม                                                                                       back
    ปุ๋ยผสม (mixed fertilizer) เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากวัสดุปุ๋ยหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าแม่ปุ๋ยมาผสมกันเพื่อเพิ่มชนิด และปริมาณธาตุอาหารให้แก่พืช หรือให้ได้ปุ๋ยที่มีเกรดต่างๆ เหมาะสมกับการใช้ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้งพืชที่ปลูกอยู่ในสภาพดินฟ้าอากาศและการปฏิบัติดูแลรักษาต่างๆ กัน ทำให้พืชต้องการปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหาร
    ตารางที่ 10.2 ปุ๋ยคอกและปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

มูลสัตว์ต่าง ๆ
%N
%P2O5
%K2O
ไก่
1.8-2.9
2.4-4.8
0.8-1.4
วัว
0.3-0.8
0.3-0.5
0.2-0.5
ควาย
0.8-1.2
0.5-1.0
0.5-1.0
หมู
0.6-1.0
0.5-0.8
0.2-0.8
ค้างคาว
1.0-6.0
5.0-10.0
0.5-1.2
เป็ด
0.5-1.2
1.0-2.0
0.2-0.8
ม้า
0.5-1.0
0.3-0.7
0.2-0.7

    ตารางที่ 10.3 วัสดุปุ๋ยหมักและเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

วัสดุปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ฟางข้าว
1.0
0.6
0.9
ฟางข้าวผสมขี้วัว
1.8
0.5
0.5
ผักตบชวา
1.4
0.5
0.5
ผักตบชวาผสมขี้หมู
1.8
0.8
0.8
ตอซังข้าวผสมขี้วัว
2.0
2.0
1.0
หญ้าขนผสมขี้ไก่
2.0
2.5
1.5
    ตารางที่ 10.4 วัสดุปุ๋ยพืชสดและปริมาณธาตุอาหารต่อน้ำหนักแห้ง

วัสดุปุ๋ย
%N
%P2O5
%K2O
ต้นถั่วเขียวแก่
2.0-3.0
0.1-0.3
1.5-3.0
ต้นถั่วเขียวออกดอก
2.0-4.0
0.1-0.5
2.0-4.0
ต้นถั่วเหลืองแก่
2.0-4.0
0.1-0.5
1.0-3.0
ต้นถั่วเหลืองออกดอก
2.5-4.0
0.1-0.5
1.0-3.0
ต้นข้าวโพดแก่
0.2-0.5
0.1-0.2
1.0-3.0
ต้นข้าวโพดออกดอก
0.2-1.5
0.1-0.5
1.0-4.0
ฟางข้าว
0.4-1.5
0.1-0.5
1.0-2.5
ต้นข้าวออกดอก
0.4-1.5
0.1-0.5
1.5-3.0

หลักต่างๆ และไม่มีปุ๋ยที่มีสูตรอาหารต่างๆ จำหน่ายในท้องตลาด จำเป็นจะต้องผสมปุ๋ยขึ้นมาใช้โดยการนำแม่ปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม และหรือวัสดุปุ๋ยอื่นมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ การผสมปุ๋ยขึ้นมาใช้จำเป็นจะต้องทราบข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้
    1) ต้องการจะได้สูตรปุ๋ยใดที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชจำนวนเท่าไร
    2) แม่ปุ๋ยที่จะใช้อยู่ในรูปใดเข้ากันได้ดีเพียงใด (รูปที่ 10.1)
    3) แม่ปุ๋ยแต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารอยู่เท่าใด
    4) เมื่อคิดคำนวณออกมาได้แล้วจะต้องผสมตัวเติมอะไรลงไปเท่าใด
 
รูปที่ 10.1 ความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยบางชนิดเมื่อนำมาผสมกัน
    ตัวอย่างการคิดคำนวณปุ๋ยผสม เช่น ต้องการปุ๋ยผสมเกรด 10-10-10 จำนวน 1 ตัน จะต้องใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21%N) ปุ๋ยทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (46%P2O5) และปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (60%K2O) อย่างละเท่าไร และต้องเติมตัวเติมลงไปอีกเท่าไร สามารถคำนวณได้ดังนี้
    1) ต้องการเกรดปุ๋ย 10-10-10 ปริมาณ 1,000 กก.
    2) จะต้องมีธาตุอาหาร N P2Oและ K2O อย่างละ 100 กก. ในปริมาณปุ๋ยผสม 1,000 กก.
    3) แม่ปุ๋ยที่ใช้ทั้ง 3 ชนิดเป็นปุ๋ยเดียวทั้งหมดคือ
            แอมโมเนียมซัลเฟต             (NH4)2SO4    21%N
            ทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต     TSP                 46%P2O5
            โปแทสเซียมคลอไรด์            KCl                 60%K2O
    4) วิธีการคิดแบบเทียบบัญญัติไตรยางค์
            ต้องการธาตุอาหาร N 21 กก. ต้องใช้ (NH4)2SO4                         100 กก.
                 N 100 กก.ต้องใช้ (NH4)2SO4                                                                           
                ดังนั้นต้องใช้ (NH4)2SO4                       =                     476 กก.                                             (1)
            ต้องการธาตุอาหาร P2O5 46 กก. ต้องใช้ TSP                               100 กก.
                P2O5 100 กก.ต้องใช้ TSP                                                                           
                ดังนั้นต้องใช้ TSP                                     =                217 กก.                                             (2)
            ต้องการธาตุอาหาร K2O 60 กก. ต้องใช้ KCl                                 100 กก.
                K2O 100 กก.ต้องใช้ KCl                                                                 
               ดังนั้นต้องใช้ KCl                                         =              167 กก.                                              (3)
    5) ดังนั้นรวมน้ำหนักแม่ปุ๋ยทั้ง 3 ที่จะต้องใช้ เท่ากับ 860 กก. [ (1)+(2)+(3) ] และ จะต้องเติมตัวเติม เท่ากับ 140 กก. เพื่อให้น้ำหนักครบ 1,000 กก.
    การผสมปุ๋ยต้องดำเนินการในที่แห้ง เรียบและแข็ง เช่น ลานซิเมนต์ มีเครื่องมือผสมเช่น พลั่ว และปุ๋ยที่ผสมได้จะต้องไม่จับตัวเป็นก้อน แต่จะต้องร่วนและแห้ง ปุ๋ยผสมที่ได้ควรพอดีกับความต้องการใช้แต่ละครั้ง
10.5 หลักในการใช้ปุ๋ยกับพืช                                                          back
    การใช้ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตพืชจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่พืชจะได้รับและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยมีหลักในการใส่ปุ๋ยดังต่อไปนี้
    1) พิจารณาถึงลักษณะดิน โดยเฉพาะเนื้อดิน โครงสร้างของดิน และความร่วนซุยของดิน เช่น ถ้าเป็นดินทรายควรแบ่งใส่ปุ๋ยทีละน้อย หลายๆ ครั้ง
    2) ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะต้องอยู่ในบริเวณที่รากพืชดูดไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะสังเกตจากบริเวณที่ปลายรากพืชกระจายอยู่หนาแน่น และมีน้ำทำละลายปุ๋ยเพียงพอ
    3) กำหนดวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับลักษณะของการปลูกพืช เช่นพืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนวมักใส่ขนานกับแถวของพืช หรือพืชยืนต้นทรงพุ่มต้นใหญ่จะต้องใส่รอบทรงพุ่มต้น
    4) ให้ปุ๋ยตรงตามความต้องการของพืชทั้งช่วงเวลาและปริมาณที่พืชต้องการ
    5) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืชหรือเพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดินก็ตาม ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยสมบูรณ์แล้วเพราะจะได้ฮิวมัสมาก
10.6 วิธีการใส่ปุ๋ย                                                                                  back
    การใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดนั้นจะเกี่ยวข้องอย่างมากกับชนิดพืช การปลูก ลักษณะหรือคุณสมบัติของปุ๋ย ตลอดจนแรงงานและเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
    1) การหว่าน (broad cast application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกไม่เป็นแถวเป็นแนว หรือพืชที่มีระบบรากแพร่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ปลูก เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าสนาม เป็นต้น การหว่านปุ๋ยควรหว่านให้กระจายไปทั่วอย่างสม่ำเสมอโดยแบ่งการหว่านออก 2 ครั้ง ครั้งแรกตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และครั้งที่ 2 ตามแนวทิศตะวันออก-ตก
    2) การโรยเป็นแถวขนานกับแถวของพืช (row or band application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยให้พืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว โดยการโรยปุ๋ยเป็นแถบในบริเวณที่รากพืชกระจายออกไปอยู่หนาแน่นที่สุด
    3) การใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุดเป็นจุด (hole application) เป็นวิธีการใส่ที่ลดการกระจายของปุ๋ยในพื้นที่ดินลง เช่น การใส่ปุ๋ยให้ยางพาราอายุ 3-4 ปีหลังจากปลูก
    4) การใส่ปุ๋ยลงไปตามร่องที่ไถ (plow-sow placement) ทำได้โดยการใช้ไถเปิดร่องนำไปก่อนแล้วโรยปุ๋ยตามลงไปในร่อง การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะลดการสูญหายของปุ๋ยจากการทำลายต่างๆ ลงได้มาก
    5) การฉีดพ่นปุ๋ยเหลวให้ทางใบ (foliar spray application) โดยการฉีดปุ๋ยเหลวให้กับพืช มักใช้กับพืชที่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหรือต้องการเร่งการเจริญเติบโตแก่พืช
    6) การโรยปุ๋ยรอบทรงพุ่มต้นตามแนวพุ่มใบ (ring application) วิธีนี้มักใช้กับไม้ผลยืนต้นที่มีทรงพุ่มกว้างโดยจะให้ปุ๋ยตามแนวพุ่มใบซึ่งถือเป็นบริเวณที่มีรากอ่อนอยู่มาก
    7) การหยอดปุ๋ยที่ซอกใบรอบโคนต้น เช่น การให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนกับสับปะรดที่ตำแหน่งซอกใบซึ่งมีลักษณะเป็นกระเปาะ เนื้อเยื่อผิวใบค่อนข้างบางสามารถดูดซึมปุ๋ยเข้าไปได้ง่าย
    โดยทั่วไปการใส่ปุ๋ยจะคำนึงถึงระยะการเจริญเติบโตทาง0ลำต้น (vegetative growth) และระยะการออกดอกผล (reproductive growth) ในการใส่ปุ๋ยให้กับพืชจึงต้องคำนึงระยะการเจริญเติบโตของพืชว่าอยู่ในระยะใด แล้วจึงจะใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับระบบการเจริญเติบโตนั้นๆ โดยมีรายละเอียดของระยะเวลาที่ควรใส่ปุ๋ยดังต่อไปนี้
    1) ใส่ก่อนปลูกโดยการใส่ปุ๋ยรองพื้น เช่นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วพื้นที่แล้วไถคลุกเคล้ากับดินหรือใส่พร้อมหยอดเมล็ด เช่นการโรยก้นร่อง หากเป็นไม้ยืนต้นเช่นยางพารา ไม้ผลก็คือการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม
    2) ใส่ระยะที่พืชเจริญเติบโตรวดเร็ว เป็นระยะที่เร่งการสร้าง ใบ ต้น กิ่ง แขนง
    3) ใส่ก่อนระยะออกดอก เพื่อให้พืชนำธาตุอาหารไปใช้ในการสร้างดอก ผล และเมล็ดได้อย่างสมบูรณ์
    4) ใส่เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารใดๆ เมื่อปรากฏชัดเจนว่าพืชขาดธาตุอาหารก็รีบใส่ปุ๋ยที่ขาดนั้นลงไป ในดินหรือฉีดพ่นให้ทางใบ
    ในปัจจุบันได้มีการผลิตและการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์กันในปริมาณมากและกว้างขวางทั่วไปมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจากให้ผลในการเจริญเติบโตของพืชได้เร็ว มีจำหน่ายทั่วไปขนส่งและนำไปใช้ได้สะดวก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางประเภทติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือใช้อย่างขาดความรู้ รอบคอบจะทำให้คุณสมบัติบางประการของดินเสื่อมลงได้ เช่น ความพรุนของดิน ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน หรือทำให้ปฏิกริยาของดินเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ดังนั้นมีความจำเป็นที่ควรจะพิจารณาและได้นำเอาปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่มีอยู่แล้วทั่วไปในบริเวณที่ปลูกพืชมาใช้เพื่อการบำรุงดิน และควบคุมคุณสมบัติหลายประการของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชดังกล่าวแล้ว ดังนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภทคือปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ร่วมกันเพื่อปุ๋ยเคมีจะไปเร่งการเจริญเติบโตของพืชขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติจะไปลดความเสื่อมสภาพของดินบางประการอันเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน


วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

น้ำและการให้น้ำ


    น้ำเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเพาะปลูกพืช ภายใต้สภาพการปลูกพืชที่มีน้ำเพียงพอ ธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ สภาพฟ้าอากาศเหมาะสมแล้วพืชสามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารนำไปใช้ในการเจริญเติบโต เก็บสะสมอาหารให้เป็นผลผลิตที่มนุษย์ต้องการได้อย่างเต็มที่ การปลูกพืชจึงต้องให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามระยะเวลาที่ต้องการ สภาพการปลูกพืชที่อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลเพียงอย่างเดียว อาจมีโอกาสที่พืชจะขาดน้ำในระยะใดระยะหนึ่งได้มาก เช่นเมื่อประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วงจนพืชขาดน้ำรุนแรงจนกระทั่งตายได้ หรือหากฝนตกมากเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังจนต้นพืชเหี่ยวเฉาเนื่องจากรากขาดอากาศจนกระทั่งตายได้เช่นกัน ดังนั้นการจัดการให้พืชปลูกได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมจะต้องใช้การชลประทานเข้าช่วย ตามความหมายแล้วการชลประทานเป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการเพิ่มความชื้นให้แก่ดินเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช และรวมความถึงการจัดหาน้ำและการส่งน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นด้วย ในการ จัดการชลประทานให้กับพืชปลูกจึงต้องคำนึงถึงน้ำ ดิน และพืชตลอดเวลา
    ปริมาณการใช้น้ำของพืช เป็นปริมาณน้ำทั้งหมดที่สูญเสียจากพื้นที่เพาะปลูกสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำ จากกระบวนการที่สำคัญคือ การคายน้ำของพืช และการระเหย
    การคายน้ำของพืช เป็นการที่พืชดูดน้ำไปจากดินเข้าสู่ลำต้นไปสู่ใบและสูญเสียไปในบรรยากาศในรูปของไอน้ำทางรูเปิดปากใบ โดยเซลล์ใบของพืชบริเวณรูเปิดปากใบอยู่ติดกับท่อลำเลียงน้ำ (รูปที่ 9.1) เมื่อน้ำจากเซลล์ใบถูกคายออกไป ทำให้เซลล์ใบเหี่ยวและมีแรงดูดน้ำจากท่อลำเลียงน้ำมากขึ้น เป็นผลให้น้ำเคลื่อนย้ายจากลำต้นเข้าสู่ใบ เมื่อน้ำในลำต้นน้อย ทำให้รากพืชต้องดูดน้ำจากดินเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าดินมีความชื้นอย่างเพียงพออยู่ตลอดเวลา อัตราที่พืชดูดน้ำจากดินจะขึ้นอยู่กับอัตราการคายน้ำ (transpiration rate) แต่ถ้าความชื้นในดินลดลงจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช อัตราการคายน้ำก็จะขึ้นอยู่กับอัตราที่พืชดูดน้ำได้จากดิน การคายน้ำของพืชเป็นการระเหยของน้ำในช่องอากาศระหว่างเซลล์ของใบ (intercellular space) และแพร่กระจาย (diffuse) ออกจากรูเปิดปากใบสู่บรรยากาศช่องอากาศในใบจะมีไอน้ำอยู่เกือบอิ่มตัว การคายน้ำของพืชจึงขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของไอน้ำในใบกับบริเวณรอบๆ ใบ ดังนั้นถ้าอากาศแห้ง หรือความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ไอน้ำในบรรยากาศมี
 

รูปที่ 9.1 เซลล์ใบของพืชที่มีรูเปิดปากใบ(Klein and Klein,1988)
น้อย พืชก็ยิ่งมีการคายน้ำมากขึ้น และเมื่อใบของพืชได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะทำให้ใบมีอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศที่อยู่รอบๆ ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิทั้ง 2 บริเวณนี้ อาจจะมากถึง 3-6 ° C เมื่ออุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้นทำให้ความชื้นที่จุดอิ่มตัวสูงขึ้น ดังนั้นใบพืชซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าจะมีความเข้มข้นของไอน้ำในช่องอากาศในใบมากกว่าบริเวณรอบ ๆ ซึ่งทำให้การแพร่กระจายของไอน้ำจากรูเปิดปากใบสูงขึ้นและพืชจะมีการคายน้ำเพิ่มขึ้น การคายน้ำของพืชเมื่อเกิดขึ้นติดต่อกันทำให้ไอน้ำในบรรยากาศรอบๆ ต้นพืชมีความเข้มข้นสูงขึ้น เป็นผลให้อัตราการคายน้ำลดลง แต่ถ้าหากมีลมพัดมาพัดพาไอน้ำรอบๆ ต้นพืชไป อัตราการคายน้ำของพืชก็จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อระดับความชื้นในดินลดลง หรืออัตราการคายน้ำของพืชสูงกว่าอัตราที่พืชดูดน้ำได้จากดิน พืชก็จะเหี่ยว รูเปิดปากใบจะปิด การคายน้ำของพืชจะลดลงหรือหยุดการคายน้ำ กลไกดังกล่าวเป็นการป้องกันไม่ให้พืชต้องได้รับความเสียหายมาก เพราะการที่พืชไม่มีการคายน้ำจะทำให้เซลล์เหี่ยว และลดการสังเคราะห์แสงลง เป็นผลให้การเจริญเติบโตของพืชลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติดูแลรักษาพืชปลูก จึงมีทางป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พืช โดยพยายามจัดให้พืชนั้นมีน้ำใช้อย่างพอเพียงตลอดเวลา และทำให้ดินมีคุณสมบัติที่จะทำให้รากพืชสามารถแพร่กระจายออกไปได้อย่างกว้างขวางและลึก ซึ่งจะทำให้พืชดูดน้ำไปใช้อย่างเพียงพออยู่ตลอดเวลา
    การระเหยน้ำ เป็นการแพร่กระจาย ของน้ำในรูปของไอน้ำจากผิวดินสู่บรรยากาศ อัตราการระเหยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวดินที่มีการระเหย ความแตกต่างระหว่างความดันไอน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ลม แสงแดด ความเร็วของลมและความกดดันของบรรยากาศ ฯลฯ นอกจากนั้นการเขตกรรม เช่น วิธีการให้น้ำ การจัดการดิน หรือวิธีการเพาะปลูกพืชล้วนมีผลต่อการระเหยน้ำ การให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้งจะทำให้มีการสูญเสียน้ำโดยการระเหยมากขึ้น ถ้าหากให้น้ำแก่พืชในปริมาณเท่ากัน แต่ให้น้อยครั้งลงจะช่วยลดการระเหยได้มาก เพราะผิวดินมีการเปียกน้อยครั้ง และน้ำซึมลงไปเก็บไว้ในดินได้ลึกกว่า ซึ่งเป็นผลให้น้ำที่พืชจะดูดไปใช้ได้มากกว่า การให้น้ำแก่พืชโดยวิธีให้น้ำท่วมผิวดิน โอกาสการระเหยน้ำจากผิวดินและผิวน้ำโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก ส่วนการให้น้ำแบบฉีดฝอย ซึ่งมีระยะเวลาการให้น้ำยาวนาน จะมีการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหยมากกว่าการให้น้ำแบบอื่น อย่างไรก็ตามการระเหยจากผิวดินผิวน้ำและจากที่เกาะอยู่ตามใบและต้นพืช ก่อให้เกิดประโยชน์กับพืชโดยการที่พลังงานความร้อนส่วนนั้นไม่ถูกใช้ไปในการทำให้เกิดการคายน้ำของพืชเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ที่ปลูกพืชต้นชิดกัน เช่น พวกข้าว หรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ การระเหยน้ำจากผิวดินจะลดลง ทั้งนี้เพราะนอกจากพืชจะใช้ความชื้นในดินไปในการคายน้ำเป็นจำนวนมากแล้ว ใบของพืชยังปกคลุมมิให้แดดส่องไปถึงผิวดิน และความหนาแน่นของต้นพืชจะช่วยป้องกันมิให้ลมพัดพาเอาอากาศรอบต้นพืชซึ่งมีไอน้ำมากไปจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างรวดเร็วอีกด้วย
    การระเหยของน้ำจากผิวดินจะถูกควบคุมจากเนื้อดินด้วย ดินที่มีการไหลซึมของความชื้น (capillary movement) สูงจะมีการระเหยจากผิวดินมาก ในทางตรงกันข้าม ดินที่มีเนื้อหยาบซึ่งมีการไหลซึมของความชื้นได้ช้ากว่าจะมีการระเหยจากผิวดินได้น้อย แต่อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นของอากาศ ฯลฯ จะมีผลต่อการระเหยลง น้ำจากผิวดินดังกล่าวตลอดเวลา การคลุมดิน และการให้ร่มเงาแก่ดิน จะช่วยลดการระเหยจากผิวดินลงได้
    ดังที่ได้นำเสนอในเนื้อหาบทที่ 3 ว่าดินประกอบด้วยสสาร 3 สถานะ คือของแข็งทั้งอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ ของเหลวซึ่งส่วนใหญ่คือน้ำ และแก๊ส เนื้อดินและโครงสร้างของดินจะกำหนดขนาดช่องว่างของเม็ดดินให้เป็นที่อยู่ของน้ำและแก๊ส ดินที่มีเนื้อหยาบ เช่นดินทรายมีคุณสมบัติให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย แต่อุ้มน้ำไว้ได้น้อย ในทางตรงกันข้ามดินเนื้อละเอียดเช่นดินเหนียว มีคุณสมบัติให้น้ำซึมผ่านได้ยากจึงอุ้มน้ำไว้ได้มาก ทั้งดินเนื้อหยาบและละเอียดเกินไป จึงมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและระบายน้ำไม่เหมาะสมตามความต้องการของพืช ดินที่เหมาะต่อการเพาะปลูกพืชและสามารถจัดการชลประทานได้เหมาะสมควรเป็นดินเนื้อปานกลางที่สามารถเก็บกักและระบายน้ำได้ดี ช่วยให้น้ำที่ถูกส่งเข้ามายังบริเวณรากพืชจะถูกดูดยึดเก็บกักเอาไว้ใช้ได้มากและหากน้ำมากเกินความต้องการดินก็สามารถระบายออกไปได้ดี
    น้ำในดินหรือความชื้นที่พืชดูดไปใช้ได้ (available moisture) เป็นน้ำดูดซึม (capillary water) ตั้งแต่ระดับความชื้นชลประทาน (field capacity) คือความชื้นในดินหลังจากน้ำอิสระถูก ระบายออกไปแล้ว จนถึงความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวร (permament wilting point) คือความชื้นในดินที่มีน้อยจนกระทั่งพืชไม่สามารถดูดมาใช้ทดแทนการคายน้ำจนพืชเหี่ยวเฉาอย่างถาวร ดังรูปที่ 9.2
    โดยทั่วไปน้ำที่พืชดูดเข้าไปใช้ในการเจริญเติบโตจะได้มาจาก 4 แหล่งด้วยกันคือ
    1) ความชื้นที่ยังมีอยู่ในดินตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ความชื้นดังกล่าวถ้ามีปริมาณมากพอพืชก็สามารถนำไปใช้ได้ บางพื้นที่อาจจะได้รับเพิ่มเติมจากฝนที่ตกนอกฤดูกาลเพาะปลูกด้วย อย่างไรก็ตามน้ำจากแหล่ง
 

รูปที่ 9.2 การจำแนกความชื้นในดินและความชื้นที่พืชนำไปใช้ได้และไม่ได้

นี้มีให้พืชเอาไปใช้ไม่มากนัก โดยเฉพาะพืชที่มีรากตื้น เพราะดินชั้นบนจะมีการสูญเสียน้ำโดยการระเหยจากผิวดินไปได้มากกว่าดินชั้นล่าง
    2) น้ำใต้ดิน ถ้าหากน้ำใต้ดินอยู่ในระดับที่จะซึมขึ้นมาถึงเขตรากได้ รากพืชก็สามารถใช้น้ำส่วนนี้ได้ แต่น้ำต้องมีคุณภาพดี ไม่มีการสะสมของเกลือในเขตรากขึ้นจนทำให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของพืช
    3) ฝนที่ตกในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งพืชอาจนำไปใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยจะถูกกำหนดจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น อัตราและปริมาณของฝน อัตราการซึมของน้ำลงไปในดิน ความสามารถเก็บกักน้ำของดิน และความชื้นเดิมของดินก่อนฝนตก เป็นต้น ถ้าอัตราที่ฝนตกสูงกว่าอัตราที่น้ำฝนจะซึมลงไปในดิน ส่วนที่เกินก็จะกลายเป็นน้ำผิวดิน (runoff) ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือถ้าปริมาณที่ซึมลงไปในดินมากกว่าที่ดินจะเก็บไว้ได้ก็จะมีการซึมเลยเขตรากพืชออกไปอีก ดังนั้นปริมาณน้ำฝนที่พืชจะนำไปใช้ได้อย่างแท้จริงจึงจำกัดอยู่เฉพาะส่วนที่เก็บกักอยู่ในเขตรากหรือในแปลงปลูกที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เท่านั้น
    4) น้ำชลประทานที่จะต้องจัดหามาให้แก่พืชปลูกเพิ่มเติมจากข้อ 1 ถึง 3 เนื่องจากว่าความชื้นที่เหลืออยู่ในดินและที่ซึมขึ้นมาจากใต้ดินมีปริมาณไม่มาก ดังนั้นน้ำชลประทานที่จัดหามาเพิ่มเติมให้กับพืชคือปริมาณน้ำที่พืชต้องการสำหรับการระเหยและคายน้ำรวมกับน้ำที่จะนำไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น เช่น ควบคุมความเข้มข้นของเกลือในเขตราก
    ในการกำหนดการให้น้ำแก่พืชเพื่อให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลตอบแทนสูงนั้นจะคำนึงถึงว่า เมื่อไรจึงจะควรให้น้ำแก่พืชและให้เป็นปริมาณเท่าใด ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่กำหนด 3 ประการคือพืชดินและน้ำ ดังนี้คือ
    1) ปริมาณน้ำที่พืชต้องการที่ช่วงเวลาต่าง ๆ ตลอดอายุพืช
    2) ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินในเขตราก
    3) ปริมาณของน้ำที่จะหามาทำการชลประทานได้
    ปริมาณน้ำที่พืชต้องการที่ช่วงเวลาต่างๆ ตลอดอายุของพืชและความสามารถอุ้มน้ำของดินในเขตราก เป็นข้อมูลสำคัญเบื้องต้นซึ่งจะต้องนำมาใช้หาความถี่ในการให้น้ำและปริมาณน้ำที่จะต้องให้แต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามในบางครั้งไม่สามารถให้น้ำแก่พืชได้เต็มจำนวนตามที่พืชต้องการเสมอไปเนื่องจากว่าน้ำที่มีอยู่นั้นมีจำนวนจำกัด หรือในขณะที่พืชกำลังต้องการน้ำนั้น ยังไม่ถึงกำหนดส่งน้ำจากโครงการชลประทาน ดังนั้นจึงต้องทราบด้วยว่าจะมีน้ำที่สามารถให้แก่พืชได้อย่างแน่นอนเท่าไรและมีกำหนดการส่งน้ำมาอย่างไร เพื่อจะได้จัดเวลาที่ยอมให้พืชขาดน้ำอยู่ในช่วงที่จะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตน้อยที่สุด หรือถ้ามีน้ำอย่างเพียงพอแต่ไม่ตรงกับที่พืชต้องการจะได้จัดเตรียมเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มิได้มีการส่งน้ำด้วย
    พืชที่กำลังเจริญเติบโตย่อมมีการใช้น้ำอยู่ตลอดเวลา อัตราการใช้น้ำจะขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช อุณหภูมิ และสภาพของภูมิอากาศอื่นๆ การให้น้ำแก่พืชในแต่ละครั้ง ปริมาณที่ให้ควรเพียงพอกับความต้องการน้ำของพืชไปจนกว่ากำหนดการให้น้ำคราวหน้า พืชเกือบทุกชนิดจะให้ผลผลิตลดลง หรือคุณภาพเลวลง ถ้ามีการขาดน้ำที่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ช่วงเวลาที่เมื่อมีการขาดน้ำ แล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตมากที่สุดเรียกว่าช่วงวิกฤติ (critical period) ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะต้องคอยรักษาดินให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ช่วงเวลาวิกฤติของพืชปลูกบางชนิดแสดงไว้ในตารางที่ 9.1
ตารางที่ 9.1 แสดงช่วงวิกฤติในการขาดน้ำของพืชปลูกบางชนิด

ชนิดพืช
ช่วงวิกฤติ
กะหล่ำปลี
เริ่มออกดอกจนเก็บเกี่ยว
กะหล่ำดอก
ตลอดฤดูกาลปลูก
ข้าวโพด
ผลิดอกจนถึงติดฝัก
ถั่ว
ผลิดอกจนถึงออกฝัก
ธัญพืช
ตั้งท้องออกรวง
ฝ้าย
ผลิดอกจนถึงสมอแก่
มะเขือเทศ
ผลิดอกออกผล
ไม้ผลประเภทส้ม
ผลิดอกออกผล
ยาสูบ
สูงประมาณ 50 ซม. ถึงผลิดอก
อ้อย
ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่

    คงเป็นการยากที่จะรักษาความชื้นของดินให้อยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่งตลอดฤดูกาลเพาะปลูกได้ นอกจากนั้นพืชแต่ละชนิดยังต้องการดินที่มีความชื้นแตกต่างกัน พืชบางชนิดต้องการดินที่มีความชื้นสูงตลอดเวลาจึงจะให้ผลผลิตคุณภาพดีในขณะที่พืชหลายชนิดต้องการความชื้นแต่ละระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ในไม้ผลเขตร้อนชื้นหลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด ลองกอง และส้มโอ เป็นต้น จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้น เช่น การแตกใบและยอดอ่อนมากในช่วงฤดูฝน หรือเมื่อได้รับน้ำและความชื้นสูงติดต่อกันนาน แต่เมื่อฝนลดลงหรือเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง อัตราการเจริญเติบโตทางลำต้นจะค่อย ๆ ลดลง เกิดการพักตัว สะสมอาหาร จนนำไปสู่การออกดอก ดังนั้นการออกดอกของไม้ผลเขตร้อนชื้นหลายชนิด เกี่ยวข้องอยู่กับความชื้นของดินและความชื้นบรรยากาศตลอดเวลา ไม้ผลเหล่านี้จะออกดอกในสภาพความชื้นของดินและบรรยากาศค่อนข้างต่ำ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวหากมีฝนตกลงมามาก และติดต่อกันนานจะส่งผลทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางลำต้นแทนที่การออกดอกได้
    กำหนดการให้น้ำแก่พืชปลูก นอกจากพิจารณาถึงคุณสมบัติของดินและความต้องการของพืชที่ปลูกแล้ว ปัจจัยอื่นที่จะต้องพิจารณาร่วมด้วย คือ สภาพภูมิอากาศ เช่น รังสีดวงอาทิตย์ อุณหภูมิ และความชื้น บรรยากาศ และการจัดการเพาะปลูก เช่น ฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ความหนาแน่นของพืชปลูก การใช้ปุ๋ย เป็นต้น

    การให้น้ำแก่พืชอาจทำได้หลายวิธีการที่จะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งจะต้องพิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน ลักษณะของพื้นที่ที่ได้เตรียมไว้ พืชที่จะปลูก วิธีการเพาะปลูก เงินทุน ตลอดจนน้ำต้นทุนที่จะนำมาให้แก่พืช โดยทั่วไปวิธีการให้น้ำ แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ การให้น้ำแบบฉีดฝอย (sprinkler irrigation) การให้น้ำทางผิวดิน (surface irrgation) การให้น้ำทางใต้ผิวดิน (subsurface irrigation) และการให้น้ำแบบหยด (drip irrigation)
    การชลประทานแบบนี้จะให้น้ำแก่พืชโดยการฉีดน้ำจากหัวฉีดขึ้นไปในอากาศแล้วให้หยดน้ำตกลงมาเป็นฝอย โดยมีรูปทรงการแผ่กระกระจายของหยดน้ำสม่ำเสมอ และอัตราของน้ำที่ตกลงบนผิวดินมีค่าน้อยกว่าอัตราการซึมของน้ำผ่านผิวดิน ระบบชลประทานแบบฉีดฝอยอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
    1) แบบติดตั้งอยู่กับที่ (permanent system)
    2) แบบเคลื่อนย้ายได้เพียงบางส่วน (semiportable system)
    3) แบบเคลื่อนย้ายได้ทั้งหมด (portable system)
    ประสิทธิภาพในการให้น้ำของการชลประทานฉีดฝอยอยู่ระหว่าง 75-85 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการให้น้ำแบบฉีดฝอย (รูปที่ 9.3) ดังนี้
    1) เครื่องสูบน้ำ (pumping unit) ทำหน้าที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำและเพิ่มความดันให้กับหัวจ่ายน้ำ
    2) ท่อประธาน (mainline pipe unit) ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเครื่องสูบน้ำไปสู่ท่อแยก
    3) ท่อแยก (lateral pipe unit) ทำหน้าที่ส่งน้ำจากท่อประธานให้กับหัวจ่ายน้ำ
    4) หัวจ่ายน้ำ (sprinkler unit) ทำหน้าที่จ่ายน้ำให้กับพืชปลูก โดยส่วนใหญ่จะจ่ายน้ำโดยการหมุนหัวฉีดเป็นวงกลมในแนวราบ (rotary sprinkler)

รูปที่ 9.3 อุปกรณ์ของระบบให้น้ำแบบฉีดฝอย 
    ข้อดีของการให้น้ำแบบฉีดฝอย คือ
    1) ลดการเสียพื้นที่จากการจัดทำระบบชลประทาน เช่น การขุดคูร่องน้ำลงได้
    2) มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูง
    3) ใช้น้ำเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรหรืออื่นๆ ร่วมกันได้ เช่น ใช้ในบ้านใช้เลี้ยงสัตว์
    4) การให้น้ำแบบให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เช่น การให้น้ำแก่พืชรากตื้นหรือพืชที่เริ่มงอกจะมีประโยชน์มาก
    5) สามารถพ่วงการให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ ร่วมไปกับระบบการให้น้ำแบบนี้ได้
    ข้อเสียของการให้น้ำแบบฉีดฝอย คือ
    1) ค่าลงทุนครั้งแรกสูงมาก และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและดำเนินการสูง
    2) การเคลื่อนย้ายทำได้แต่ไม่สะดวก
    3) มีผลทำให้การแพร่กระจายและแข่งขันของวัชพืชเกิดขึ้นได้มาก
    4) การสูญเสียน้ำไปโดยการระเหยจะเกิดขึ้นได้มาก
    การชลประทานแบบนี้ให้น้ำโดยการขังหรือปล่อยให้น้ำไหลไปบนผิวดินและซึมลงไปในดินตรงบริเวณที่มีรากพืช การให้น้ำทางผิวดินอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ด้วยกันคือ (รูปที่ 9.4 และ 9.5)
    1) แบบให้น้ำท่วมผิวดินเป็นแปลงใหญ่ (flooding)
    2) แบบให้น้ำท่วมเฉพาะในร่องคู (furrow)
 
รูปที่ 9.4. การให้น้ำทางผิวดิน แบบท่วมผิวดินแปลงใหญ่ (บน) และแบบท่วมเฉพาะในร่องคู (ล่าง)

    สำหรับวิธีการให้น้ำท่วมเป็นผืนใหญ่นั้น โดยปกติแล้วต้องการอัตราการให้น้ำมากกว่าแบบให้น้ำท่วมเฉพาะในร่องคู ในแปลงปลูกที่ไม่มีความลาดเทจะต้องการอัตราการให้น้ำมากกว่าแปลงปลูกที่มีความลาดเทเพราะแปลงที่ไม่มีความลาดเทน้ำจะไหลไปถึงจุดต่าง ๆ ในแปลงได้ช้า ดังนั้นจะต้องให้น้ำด้วยอัตราสูงเพื่อให้น้ำท่วมแผ่ไปทั้งแปลง หรือไหลจากหัวร่องไปถึงท้ายร่องอย่างรวดเร็ว การให้น้ำกับแปลงลาดเท ถ้าหากน้ำไหลไปถึงท้ายแปลงแล้วจะต้องลดอัตราการให้น้ำลง เพราะมิฉะนั้นน้ำจะไหลเลยท้ายแปลงออกไป ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์
1. ท่วมเป็นผืนยาว 
(graded border)
1. ร่องคู่ลาด
(graded furrow
2. ท่วมเป็นอ่าง 
(basin)
2. ร่องคูราบ
 (level furrow)
3. ท่วมเป็นผืนตามแนวเส้นของเนิน
(contour levee)
3. ร่องดูตามแนวเส้นของเนิน
(contour furrow)
4. ท่วมจากคูตามแนวเส้นของเนิน 
(contour ditch)
4. ร่องคูเล็ก
(corrugation)
  
รูปที่ 9.5 แผนผังแสดงวิธีการให้น้ำทางผิวดินแบบต่าง ๆ

    จากการที่มีวิธีการให้น้ำทางผิวดินหลายวิธีทำให้ประสิทธิภาพในการให้น้ำจึงแตกต่างกันไปได้มาก แต่โดยเฉลี่ยแล้วประสิทธิภาพในการให้น้ำจะอยู่ระหว่าง 40-80 เปอร์เซ็นต์
    ข้อดีของการให้น้ำทางผิวดิน คือ
    1) สามารถใช้ได้ดีกับดินและพืชเกือบทุกชนิด
    2) มีความคล่องตัวสูง โดยสามารถให้น้ำแก่พืชในระยะเวลาอันสั้น เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ไม่ได้ให้น้ำ เช่น อาจให้น้ำแก่พืช 10 วันต่อครั้ง โดยใช้เวลาให้น้ำเพียงวันเดียวหรือสองวัน
    3) ถ้ามีน้ำอยู่แล้วจะให้น้ำแก่พืชเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมืออื่น ๆ ฉะนั้นความเสียหายของพืชอันเนื่องมาจากจัดหาน้ำให้ไม่ทันจึงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
    4) หากมีการออกแบบและให้น้ำที่เหมาะสม จะทำให้การให้น้ำแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก
    ข้อเสียของการให้น้ำทางผิวดิน
    1) พื้นที่ไม่ราบเรียบและลาดเทไม่สม่ำเสมอจะไม่เหมาะสมกับการให้น้ำแบบนี้
    2) อาจเกิดการกัดเซาะแปลงขึ้นหากพื้นที่มีความลาดเทมาก
    3) คันดินและคูน้ำอาจเป็นสิ่งกีดขวางการทำงานของเครื่องจักรกลเกษตร
    4) ส่วนมากต้องการความรู้และแรงงานในการให้น้ำแบบนี้ค่อนข้างสูง
    การชลประทานแบบนี้เป็นการให้น้ำโดยการยกระดับน้ำใต้ดินให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่น้ำจะไหลซึมขึ้นมาสู่เขตรากได้ วิธีการเพิ่มระดับน้ำใต้ดินอาจทำได้ 2 แบบ (รูปที่ 9.6) คือ
    1) โดยการให้น้ำในคู
    2) โดยการให้น้ำในท่อซึ่งฝังไว้ใต้ดิน


รูปที่ 9.6 การให้น้ำทางใต้ผิวดินแบบคูเปิด (บน) และแบบท่อฝังดิน (ล่าง)
    ความลึกของระดับน้ำใต้ดินขณะให้น้ำจะอยู่ระหว่าง 30-60 ซม. แต่โดยทั่วไปแล้วการให้น้ำแบบทางใต้ผิวดินไม่ค่อยนิยมเพราะมีข้อจำกัดมาก ประสิทธิภาพในการให้น้ำจะมีค่าระหว่าง 30-50 เปอร์เซ็นต์ แต่บางแห่งมีโอกาสสูงถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ได้ ถ้าหากพื้นที่มีความเหมาะสม การให้น้ำทางใต้ผิวดินเหมาะสมที่จะใช้กับดินที่มีเนื้อดินชนิดเดียวกัน และการดูดซึมน้ำพอที่จะปล่อยให้น้ำไหลลงไปในดินได้เร็วทั้งด้านข้างและแนวดิ่ง น้ำจะลงไปภายในระดับความลึกพอสมควรใต้เขตรากพืช ชั้นดินก็จะต้องมีวัตถุรองรับเพื่อมิให้เกิดการสูญเสียโดยการไหลลึกลงไปในดินในจำนวนที่มากเกินไป โดยมีชั้นที่น้ำเกือบจะผ่านลงไปไม่ได้ในดินชั้นล่าง หรือโดยมีระดับน้ำใต้ดินสูงซึ่งจะทำให้สามารถรักษาระดับน้ำที่เข้าไปใต้ดินได้ตลอดฤดูปลูก การให้น้ำทางใต้ผิวดินเหมาะสมที่จะใช้กับพืชผัก พืชไร่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสตว์ พืชอาหารสัตว์ และสวนไม้ประดับ
    ข้อดีของการให้น้ำทางใต้ผิวดิน
    1) สามารถใช้ได้กับดินที่มีอัตราการซึมของน้ำเข้าไปในดินสูง แต่มีความสามารถเก็บน้ำไว้ได้น้อย ซึ่งไม่เหมาะกับการให้น้ำทางผิวดิน
    2) สามารถควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่ในระดับที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่อายุต่างๆ ได้
    3) มีการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหยน้อยมาก
    4) การแพร่กระจายของเมล็ดวัชพืชเนื่องจากถูกน้ำพัดพาไปน้อย
    5) ระบบการให้น้ำทางดินอาจใช้เป็นระบบระบายน้ำได้ด้วย
    ข้อเสียของการให้น้ำทางใต้ผิวดิน
    1) เนื่องจากวิธีนี้ต้องการให้มีชั้นดินที่น้ำซึมผ่านได้ยากหรือมีระดับน้ำใต้ดินอยู่ในเขตรากและดินจะต้องมีความสามารถให้น้ำซึมผ่านได้ดีพอสมควร ดังนั้นจึงใช้ได้กับพื้นที่เพียงบางส่วนเท่านั้น
    2) โดยปกติแล้วพื้นที่ที่อยู่ข้างเคียงจะต้องให้น้ำวิธีนี้เหมือนกัน มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการระบายน้ำได้
    3) น้ำชลประทานต้องมีคุณภาพดี มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเรื่องการสะสมของเกลือบนผิวดินและในเขตรากขึ้นได้
    4) สามารถใช้ได้กับพืชเพียงบางชนิด พืชที่มีรากลึก เช่น พืชสวน และพืชยืนต้นไม่เหมาะที่จะให้น้ำโดยวิธีนี้
    เป็นการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งหรือหลายๆ จุดบนผิวดินหรือในเขตราก โดยอัตราที่ให้นั้นไม่มากพอที่จะทำให้ดินในเขตรากอิ่มน้ำเป็นบริเวณกว้าง โดยปกติแล้วผิวดินจะเปียกแต่เฉพาะตรงจุดที่ให้น้ำเท่านั้น การชลประทานแบบนี้จะให้ประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงมาก เนื่องจากมีการสูญเสียโดยการระเหยน้อย ดังนั้นผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรของน้ำที่ใช้จึงมากกว่าการชลประทานแบบอื่นๆ สามารถที่จะนำไปใช้กับการปลูกพืชแทบทุกชนิด ทั้งไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ และไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการให้น้ำแบบหยด (ดังรูปที่ 9.7)
    1) หัวปล่อยน้ำ (emitter) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของน้ำจากท่อแขนงไปสู่พื้นดินจำนวนหัวปล่อยน้ำต่อจำนวนต้นพืชแตกต่างกันตามขนาดและความต้องการน้ำของพืช เช่น ในพืชไร่หรือพืชผักใช้หัวปล่อยน้ำ 1 หัวต่อพืชหลายต้น แต่ถ้าเป็นไม้ผลยืนต้นอาจใช้หัวปล่อยน้ำ 1-8 หัวต่อต้น
 

รูปที่ 9.7 ระบบการให้น้ำแบบหยดในสวนไม้ผล
    2) ท่อแขนง (lateral) เป็นท่อแยกมาจากท่อประธานวางขนานไปกับแถวพืช ถ้าเป็นการปลูกพืชแบบแถวแคบ เช่น พืชไร่หรือพืชผักอาจใช้ท่อแขนง 1 แนวสำหรับพืช 1-12 แถว แต่ถ้าเป็นการปลูกพืชแบบแถวห่าง เช่นไม้ผลยืนต้นจะใช้ท่อแขนง 1 แนวต่อการปลูก 1 แถว
    3) ท่อแยกประธาน (submain) อาจจะไม่มีก็ได้ ถ้าหากการวางระบบท่อไม่ซับซ้อน และท่อแขนงแยกออกไปจากท่อประธานโดยตรง
    4) ท่อประธาน (mainline) เป็นท่อใหญ่ซึ่งนำน้ำจากแหล่งน้ำมาเชื่อมกับท่อแยกประธานหรือท่อแขนง โดยทั่วไปใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว
    5) ถังกรองน้ำ (filter tank) ทำหน้าที่กรองน้ำให้สะอาดป้องกันปัญหาการอุดต้นที่หัวปล่อยน้ำ
    6) แหล่งน้ำและเครื่องสูบน้ำ ปริมาณการใช้น้ำอาจไม่มาก แต่น้ำต้องสะอาด
    ข้อดีของการให้น้ำแบบหยด คือ
    1) สามารถใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรักษาระดับความชื้นในดินรอบต้นพืชให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะตลอดเวลา
    2) ประหยัดแรงงาน ใช้กำลังคนในการจัดการน้อย
    3) สามารถป้องกันและควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เพราะน้ำหยดเป็นบริเวณเฉพาะทำให้โรคและแมลงศัตรูพืชระบาดได้น้อย
    4) ป้องกันการสะสมเกลือ ใช้ได้ผลดีมากในบริเวณที่เป็นดินเค็ม เพราะน้ำที่หยดลงไปในดินจะไปทำให้เกลือในบริเวณที่น้ำหยดเจือจางลงไปมาก
    5) เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ย เพราะปุ๋ยที่ให้บริเวณโคนต้น สามารถละลายน้ำให้พืชดูดไปใช้ได้อย่างเต็มที่
    ข้อเสียและปัญหาการให้น้ำแบบหยด คือ
    1) เกิดการอุดตันที่หัวปล่อยได้ง่าย หากการกรองน้ำทำได้ไม่ดีพอ
    2) สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูงในครั้งแรก
    3) จำกัดการเจริญของรากพืชให้อยู่หนาแน่นเฉพาะบริเวณที่เปียกน้ำ

    น้ำที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกพืช ซึ่งถูกส่งมาจากแหล่งน้ำที่มีการเก็บในที่ห่างไกลจากแปลงปลูกพืช จะมีการสูญเสียโดยการระเหย รั่วซึม ตลอดจนถูกวัชพืชนำไปใช้จำนวนมากเช่นกัน การสูญเสียจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะทางของแปลงปลูกกับแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงควรให้มีการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะถึงแม้ว่าจะไม่มีการสูญเสียน้ำในบริเวณแปลงปลูกไปมาก แต่การสูญเสียที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อส่งน้ำออกไปจากแหล่งกักเก็บและคูคลองที่ส่งน้ำก็นับว่ามากอยู่แล้ว ในการชลประทานแบบผิวดินบนพื้นที่มีความลาดเท จะมีน้ำส่วนหนึ่ง และค่อนข้างมากที่ไหลเลยท้ายแปลงออกไป กลายเป็นน้ำผิวดิน ถ้าหากน้ำส่วนนี้มีปริมาณมากพอก็ควรจะได้มีการเก็บรวบรวมนำมาใช้อีก โดยการทำร่องระบายน้ำ นำน้ำไปรวมไว้ที่ต่ำสุดของพื้นที่แล้วใช้เครื่องสูบกลับมาสู่คูส่งน้ำอีก ในกรณีการปลูกพืชที่ต้องการให้มีการระบายน้ำดี ก็อาจเลือกใช้พื้นที่และระบบการชลประทานที่มีความลาดเทพอสมควรพร้อมกับจัดระบบระบายน้ำไว้ให้ดี หากพื้นที่มีความลาดเทมาก เช่น ที่สูง อาจเลือกใช้ระบบชลประทานที่วางขวางกับเส้นชันความสูง เช่น แบบ contour furrow แต่ไม่ควรเลือกใช้ร่องคูที่มีทิศทางไปตามความลาดเทหลัก เพราะจะทำให้เกิดการกัดเซาะในร่องอย่างรุนแรง และโอกาสที่น้ำฝนจะซึมลงไปในดินเก็บไว้ให้พืชใช้ได้ลดลง

ที่มาhttp://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter09/agri_09.htm